
ลางานอย่างไรไม่เสียสิทธิ์ ไขข้อข้องใจให้ทุกคนเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับ ‘การลางาน’ ตามกฎหมายแรงงานไทย
ในชีวิตการทำงาน ‘การลางาน’ อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แค่เขียนอีเมลส่งล่วงหน้าตามจำนวนวันที่ทางบริษัทกำหนดและไม่เกินขอบเขตโควต้าของวันลาก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่จริงๆแล้วพนักงานทุกคนควรให้ความสำคัญกับ ‘สิทธิการลา’ ให้ครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อสิทธิประโยชน์สูงสุดที่เราควรได้รับ ซึ่งวันนี้ Jobcadu จะพาไปดูว่าการลางานคืออะไร มีกี่ประเภทตามกฎหมายไทย ข้อดี-ข้อเสียคืออะไร พร้อมเทมเพลตสำหรับใช้ยื่นลาทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้จริง ลางานคืออะไร ลางาน คือการที่พนักงานงดทำงานตามช่วงเวลาที่แจ้งไว้ล่วงหน้า หรือกรณีกระทันหัน ซึ่งครอบคลุมทั้งกรณีที่รับค่าจ้างและไม่รับค่าจ้าง เช่น ลาป่วย ลาพักร้อน ลากิจ ลาคลอด เป็นต้น จุดประสงค์คือเพื่อให้พนักงานดูแลสุขภาพ ครอบครัว หรือภาระส่วนตัวอื่นๆได้ โดยในสถานประกอบการจะมี “ใบลางาน” เป็นเอกสารยืนยันการแจ้งลาและเก็บไว้เป็นหลักฐาน ลางานมีกี่ประเภทตามกฎหมาย สิทธิการลา ประกอบด้วยลาป่วย ลากิจ ลาพักร้อน และลาคลอด โดยสิทธิพื้นฐานที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ลาป่วยได้สูงสุด 30 วันต่อปีโดยได้รับค่าจ้าง ลากิจไม่ต่ำกว่า 3 วันต่อปี ลาพักร้อนอย่างน้อย 6 วันต่อปีสำหรับผู้ที่ทำงานครบ 1 ปี และลาคลอดบุตรสูงสุด 98 วันโดยได้รับค่าจ้าง 45 วันแรก ซึ่งสิทธิเหล่านี้มีขึ้นเพื่อคุ้มครองคุณภาพชีวิตของพนักงานให้สามารถบาล้านซ์ชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้อย่างยั่งยืน ข้อดีและข้อเสียของการลางาน ข้อดีของการลางาน ช่วยฟื้นฟูสุขภาพกายและใจ ลดอาการเหนื่อยล้า จัดการธุระสำคัญได้เต็มที่ เช่น ราชการ ครอบครัว ช่วยสร้างสมดุลชีวิตและงาน เพิ่มประสิทธิภาพเมื่อกลับไปทำงาน ใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่ถูกหักเงินเมื่อปฏิบัติตามข้อบังคับ ลดความเสี่ยงพนักงานไม่ให้ป่วยเรื้อรัง เพราะมีวันพักผ่อนให้ใช้อย่างเหมาะสม ข้อเสียของการลางาน หากลาบ่อยโดยไม่วางแผน อาจเสียภาพลักษณ์ในสายตาผู้บริหาร อาจทำให้โปรเจกต์สะดุดหากไม่มีผู้รับช่วงงาน ใช้สิทธิ์หมดเร็วอาจไม่มีวันลาเหลือในยามจำเป็นฉุกเฉิน บริษัทอาจพิจารณาคะแนนประเมินผลงานหรือโบนัสหากลาเกินโควต้า ทีมอาจวางแผนไม่ทัน หากพนักงานหลายคนลาพร้อมกัน เทมเพลตอีเมลขอลางาน (ภาษาไทย–อังกฤษ) ภาษาไทย เรื่อง ขออนุญาตลางาน เรียน คุณ/หัวหน้า…………………………………… ข้าพเจ้า………………………… ตำแหน่ง………………………… ขออนุญาตลางานเนื่องจาก __________________________ (ระบุอาการ/เหตุผล เช่น ไข้สูง, ปวดหัว, ธุระด่วน) ระหว่างวันที่ _______ ถึง _______ รวมจำนวน _______ วันทำงาน ข้าพเจ้าได้มอบหมายงานให้คุณ/คุณ X เรียบร้อยแล้ว จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุญาต ลงชื่อ __________ วันที่ ____/____/____ ภาษาอังกฤษ Subject: Leave Request (Sick/Personal/Annual Leave) Dear [Manager’s Name], I would like to request [sick/personal/annual] leave due to ________________________ (Example: high fever, family emergency) The leave will be from [Start Date] to [End Date], totaling [number] working days. I have arranged for [Colleague’s Name] to cover my duties during my absence. Thank you for your understanding. Best regards, [Your Name] [Position] [Date] การลางานไม่ใช่แค่การหยุดพัก แต่มันคือสิทธิ์และการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่งในการทำงาน ควรให้ความสำคัญกับการวางแผนล่วงหน้า สื่อสารให้ชัดเจน และใช้สิทธิ์อย่างรับผิดชอบเพื่อให้แฮปปี้กันทุกฝ่าย และถ้าหากใครกำลังมองหาโอกาสงานใหม่ หรืออยากพัฒนาทักษะให้พร้อมรับทุกโอกาส ลองมาที่ Jobcadu แหล่งรวบรวมงานที่ใช่ และบทความเสริมทักษะช่วยทุกคนพัฒนาสกิล แต่สำหรับใครที่ไม่รู้จะใช้เหตุผลอะไรในการลา>> มาดู 25 เหตุผลในการใช้ลา ใช้ลางานได้เลย